Remote Sensing
รีโมตเซนซิง (Remote Sensing) หรือการสำรวจข้อมูลระยะไกล (การรับรู้ระยะไกล) เป็นศัพท์เทคนิคที่ใช้เป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ.2503 หมายถึง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงหนึ่ง ที่บันทึกคุณลักษณะของวัตถุ (Object) หรือปรากฎการณ์ (Phenomena) ต่างๆ จากการสะท้อนแสง/หรือ การแผ่รังสีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy) โดยเครื่องวัด/อุปกรณ์บันทึกที่ติดอยู่กับยานสำรวจ การใช้รีโมตเซนซิงเริ่มแพร่หลายนับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมสำรวจ ทรัพยากรดวงแรก LANDSAT-1 ขึ้นใน พ.ศ.2515 เราสามารถหาคุณลักษณะของวัตถุได้จากลักษณะการสะท้อนหรือการแผ่พลังงานแม่ เหล็กไฟฟ้าจากวัตถุนั้น ๆ คือ “วัตถุแต่ละชนิด จะมีลักษณะการสะท้อนแสงหรือการแผ่รังสีที่เฉพาะตัวและแตกต่างกันไป ถ้าวัตถุหรือสภาพแวดล้อมเป็นคนละประเภทกัน” คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูลใน 3 ลักษณะ คือ ช่วงคลื่น(Spectral) รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นโลก (Spatial) และการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา (Temporal) รีโมตเซนซิงจึงเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการจำแนก และเข้าใจวัตถุหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จากลักษณะเฉพาะตัวในการสะท้อนแสงหรือแผ่รังสีข้อมูลที่ได้จากการสำรวจระยะไกล ในที่นี้จะหมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพทางเครื่องบินในระดับต่ำ ที่เรียกว่า รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photo) และข้อมูลที่ได้จากการบันทึกภาพจากดาวเทียมในระดับสูงกว่า เรียกว่า ภาพถ่ายจากดาวเทียม (Satellite Image)การสำรวจ ทางภูมิศาสตร์ (geographic surveying) โดยทั่วไปอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก คือ
1. การสำรวจในสถานการณ์จริง (in situ measurement) และ
2. การสำรวจจากระยะไกล (remote sensing) VDOคำว่า “Remote Sensing: RS” เริ่มถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยนักวิจัยทางภูมิศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในยุค 1960s ซึ่งเป็นช่วงที่การตรวจวัดจากระยะไกล ด้วยดาวเทียม (Satellite RS) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและในสหภาพโซเวียต“Remote Sensing” เป็นศาสตร์ของการศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของพื้นผิวโลกและบรรยากาศโลกจากระยะไกล โดยอาศัยอุปกรณ์การตรวจวัด ซึ่งใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น กล้องถ่ายภาพทางอากาศ หรือ เครื่องกวาดภาพ ที่ติดตั้งไว้บนดาวเทียม เป็นต้น 1. การสำรวจในสถานการณ์จริง (in situ measurement) และ
สำหรับชื่อเรียกคำนี้ใน ภาษาไทย ที่นิยมใช้กันมาก มีอยู่ 3 แบบ คือ
1. การรับรู้จากระยะไกล (ราชบัณฑิตฯ) 2. การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล
3. การตรวจวัดข้อมูลจากระยะไกล 4. โทรสัมผัส
คำจำกัดความของ “Remote Sensing”
สำหรับ คำจำกัดความ ของคำนี้ ที่เป็น ภาษาไทย มีเช่น
- วิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับ วัตถุ พื้นที่ หรือ ปรากฏการณ์จาเครื่องบันทึกข้อมูลโดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย ทั้งนี้โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูล (สุรชัย รัตนเสริมพงศ์ 2536)
สำหรับ คำจำกัดความ ของคำนี้ ที่เป็น ภาษาไทย มีเช่น
- วิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับ วัตถุ พื้นที่ หรือ ปรากฏการณ์จาเครื่องบันทึกข้อมูลโดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย ทั้งนี้โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูล (สุรชัย รัตนเสริมพงศ์ 2536)
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/รูปภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น